เกาะล้าน

หัวหิน

video

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อดีข้อเสียของ supper 4

supper 4 มีข้อดีข้อเสียกันอย่างไร[Photo]sf นับเป็น naked bike ที่เรียกได้ว่า ไร้ปัญหาจุกจิก ที่สุดแล้วในคลาส 400 และเรื่องรูปทรงเราดูทันสมัยดี แต่มีข้อเสียคือ มีคนใช้เยอะจนมัน โหลไปแล้ว หรือเรียกอีกอย่างก็ คือ รถตลาดไปแล้ว อย่างเช่น nc30 cbr400 steed400 เป็นต้น เรื่องพละกำลัง อาจไม่ ปรู๊ด ไม่ ปร๊าด เหมือนเวลาท้องเสีย แต่ก็จัดได้ว่าพอตัว มีม้ามาให้ใช้ถึง 53 ตัวก็ไม่ได้น่าเกลียดเท่าไหร่ มาว่าเรื่องของ อะไหล่ถือได้ว่าเป็นรถที่ คุ้มค่าตัวที่สุด กับอุปกรณ์ ที่ติดกับรถ มาให้ ไม่เหมือนกับ บางยี่ห้อที่ ต้องเอา ohlin&brembo มาเป็นจุดขาย แต่ใช่ว่า sf จะดีเสมอไป จุดด้อยก้อาจเป็นเรื่องระบบไฟ นั่นก็คือ แผ่นชารต์ แต่ไม่ใช่ปัญหาครับ สามารถ เอาแผ่นชารต์ ของรถบ้านเรายี่ห้อหนึ่งมาใช้แทนกันได้โดยไร้ปัญหา และที่น่าประทับใจ se จะมีอุปกรณ์เก็บของอยู่ใต้ เบาะซึ่ง รถในพิกัดเดียวกัน จากค่าย อื่น บ่มีเด้อ 5555 นี่หละที่คุ้มค่าตัวเพราะมันสามารถ เปลี่ยนไปใช้ แบตเจตอร๊ที่มี ค่า amp สูงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ได้ ช่วยให้รถ ปีใหม่ๆ ที่ไฟหน้า ติดตลอด start ติดได้ง่ายขึ้นนนนนนนนนน มาว่าเรื่องของการดูแลต่อ การเปลี่ยนหัวเทียน ทำได้ง่ายกว่า xjr&bandit แต่ตัวv-tech ที่เคยเล่น แมรง ยากชิปหายยากกว่า xjr เสียอีก555 สำหรับ เรื่องแนะนำที่จะถอยรถดีๆต้องดูด้วยนะครับว่าดีแบบไหน ตัวอย่างรถของเรดบารอนอันนี้ดีแน่ชัวร์ มีการรับประกันแต่ราคามันก็ใช่ย่อย หากเป็นรถที่ซื้อขายเปลี่ยนมือกันเองบอกได้คำเดียวว่า 50-50 ครับ ซื้อมายังไงก็ต้องเก็บงานเองอยู่ดี เรียกได้ว่าต้องเตรียมเงินสำหรับเก็บงานอีกประมาณ1 หมื่นบาท ถ้าจะใช้ขี่เที่ยวไกลๆกับแฟน ผมแนะนำให้ซื้อตัวที่ซีซีสูงกว่านี้มาขี่อย่างเช่น CBR1100 จะดีกว่า เพราะท่านั่งของคนซ้อนก็ไม่แตกต่างจาก SF สักเท่าไหร่นัก เพราะกำลังมันมากกว่า SF อักโข ระบบเบรกก็ดีกว่า แถมทำความเร็วได้สูงกว่า(ใช้เวลาในการเดินทางน้อยลง เที่ยวได้มากขึ้น ไม่ต้องขี่รถนานๆจนเหนื่อย) ถ้าจะให้แนะนะวิธีดูรถ ผมจะแนะคร่าวๆนะครับว่า ให้พยายามเก็บข้อมูลของรถรุ่นที่จะซิ้อให้มากที่สุด และเลือกซื้อเฉพาะรถที่มีทะเบียนและอยู่ในเดิมๆ คือไม่มีการเปลี่ยนชิ้นส่วนของรถไปเป็นของรุ่นอื่น จากนั้นค่อยเช็คสภาพของเครื่องยนต์และตัวรถโดยรวม จากนั้นทดลองขี่ดู ไม่ต้องห่วงเรื่องเจ้าของรถนะครับ ถ้าเราไม่พอใจกับตัวรถ เรายังไม่ได้จ่ายเงิน เราไม่ได้ทำรถเขาเสียหาย เจ้าของรถก็ว่าอะไรเราไม่ได้อยู่แล้ว ร้านที่ขายรถดีและเข้าตาจริงๆ ในผมคิดของผมก็คงไม่พ้นเรดบารอนล่ะครับ เพราะที่นี่ขายรถที่มีคุณภาพพอสมควร(ราคาก็พอสมควรเหมือนกัน) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารถที่ร้านอื่นไม่ดีนะครับ หากคุณต้องการรถที่ดี อย่างแรกที่คุณต้องทำคือเข้ามาคลุกคลีในวงการนี้ก่อนที่จะหารถ เพราะการที่คุณจะเดินดุ่มๆมาซื้อเลยผมรับรองว่าหัวแบะแน่นอน การที่คุณเข้ามาในวงการก่อนเป็นอันดับแรกคุณจะได้ทราบเรื่องราวความเป็นมา และเป็นไปของวงการนี้ ได้รับรู้ถึงรายนามแบล็กลิสของบุคคลและร้านต่างๆซึ่งผมไม่สามารถเอ่ยนามใน เว็ปเนื่องจากเข้าข่ายข้อหาหมิ่นประมาท พอคุณรู้เหนือรู้ใต้ของวงการนี้เปอร์เซ็นต์ที่คุณซื้อรถเน่าๆหรือโดนฟันหัว แบะก็มีน้อยลงตามความรู้ที่คุณค่อยๆสั่งสมมัน สำหรับเรื่องอะไหล่ของ SF ไม่มีอะไรน่าหนักใจครับ ส่วนใหญ่ที่ต้องเปลี่ยนก็เป็นพวกของสิ้นเปลืองต่างๆเช่น ยางหน้า+หลัง โซ่+สเตอร์หน้า+หลัง กรองอากาศ กรองน้ำมันเครื่อง ผ้าเบรกหน้า+หลัง และหัวเทียนที่นานๆจะเปลี่ยนสักครั้ง อะไหล่พวกนี้หาซื้อได้ไม่ยากครับ ขอ แนะนำว่าไม่ควรซื้อรถที่มีการปัดเงาชิ้นส่วน เพราะการปัดเงาชิ้นส่วนมักทำกับรถเคยประสพอุบัติเหตุมาก่อน เจ้าของจะชอบปัดเงาเพื่อลยริ้วรอยที่ไม่พึงประสงค์ออกไป สำหรับ เรื่องของเครื่องยนต์ของ SF เป็นเรื่องสำคัญรองจากเฟรมรถ เนื่องจากจุดอ่อนสำคัญของ SF คือ ความแข็งแรงของคอรถน้อยกว่าชาวบ้านเขา ถ้าเคยบึ้มหนักๆมาก่อนมักจะเสียศูนย์ทุกคัน เฟรมรถถึงกับต้องขึ้นแท่นดัด โอกาสที่จะกลับมาเหมือนเดิมมีไม่ถึง 40% สังเกตุง่ายๆ 3 วิธี 1. วิธีการดูด้วยตาเปล่า ให้จอดรถบนถนนเรียบขึ้นขาตั้งคู่ จับแฮนด์ให้ตรง แล้วเดินมาเล็งด้านหน้ารถ เล็งโช๊คคู่หน้ากับตัวรถ ดูว่ามันตั้งฉากกับพื้นหรือเปล่า และเดินมาเล็งด้านข้างว่าโช๊คหน้าทั้งสองขนานกันหรือไม่ 2. ลองขี่ด้วยความเร็วประมาณ 30-40 กิโลเมตร/ชั่วโมง จับแฮนด์ให้ตรง นั่งให้ตรง แล้วปล่อยมือทั้งสองข้าง สังเกตุดูว่ารถเลี้ยวไปด้านไหน ถ้ายังวิ่งตรงอยู่ได้โดยไม่ต้องเบี่ยงเอวช่วยก็แสดงว่าศูนย์ยังดีอยู่ 3. ยกถังน้ำมันมาดู ที่คานบนของเฟรมจะต้องมีสติกเกอร์แบบฟอยล์อลูมิเนียมบางๆแปะติดอยู่ ถ้าเฟรมที่เคยดัดด้วยการเป่าไฟและทำสีมาจะไม่มีสติกเกอร์แผ่นนี้ สำหรับ เรื่องรถปี 93 ผมไม่แนะนำให้เล่นครับ เนื่องจากมันเก่ามากอะไหล่ต่างๆของมันก็หมดอายุไปเกือบหมดแล้วเช่น ยางปากคาร์บูด้านเครื่องยนต์, ซิลล์ก้านเกียร์, ยางรองฝาวาวล์, แปรงถ่านของไดสตาร์ท, ลูกปืนคอ, ลูกปืนสวิงอาร์ม, ลูกปืนล้อหน้า+หลัง, สายคลัช, ชุดสายไฟที่อาจจะกรอบหมดสภาพไปหมดแล้ว, แผ่นชาร์จ ฯลฯ ถ้าซื้อมาก็ต้องเสียเงินเปลี่ยนชิ้นส่วนเหล่านี้อีกหลายหมื่นล่ะอย่างที่ผม ทำกับนังแก่ของผมน่ะครับ ดีหน่อยที่ผมมีเงินบิ๊วมันเลยไม่ลำบากเท่าไหร่ ตอนนี้วิ่งฉิวเลย ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกเล่นรุ่นปีตั้งแต่ 95 หรือเวอร์ชั่น R ขึ้นไปแต่ราคามันก็สมน้ำสมเนื้อรถใหม่นะครับ ถ้า เงินยังอยู่กับเราซะอย่างรถจะผ่านมาให้ดูเรื่อยๆแหละ ถ้าซื้อเมื่อไหร่นั้นก็หมายความว่าเราไม่มีโอกาสเลือกอีก อย่างที่เพื่อนๆของผมก็มักจะพูดกันว่า "รถสภาพดีๆมักจะไม่ค่อยมีมาให้เห็นตอนที่เรามีเงินซื้อ รถที่สภาพสวยๆมักจะมาตอนที่เราซื้อรถห่วยๆมาแล้ว" อย่าเพิ่งใจร้อนซื้อมาไม่งั้นจะเจ็บใจ เสียอารมณ์ตัวเองเปล่าๆ ช่วง นี้ SF เป็นรถที่ได้รับความนิยมสูงมาก และหายกันบ่อยมาก(โดนขโมย) โดยปกติ SF จะมีอยู่สองแบบ(ไม่เกี่ยวกับรุ่น) คือรถที่ขายทั่วไป และรถที่สั่งผลิตเพื่อใช้สำหรับฝึกขี่ที่เรียกกันว่า "รถนักเรียน" สองแบบนี้สังเกตง่ายๆครับ รถนักเรียนจะมีจุดยึดกันล้มที่เฟรมใกล้ๆกับหม้อน้ำนะครับ ถ้ามีจุดยึดที่ว่านี้ก็แน่ใจได้เลยว่าใช่ แล้วรถนักเรียนกับรถตลาด มันต่างกันยังไง?อันนี้ตอบได้แบบไม่ต้องคิดเลยครับว่า รถนักเรียนชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้สำหรับฝึกขี่ ซึ่งแน่นอนว่ามันจะต้องเคยล้มลุกคลุกคลานมาไม่มากก็น้อย ฉะนั้นก็ต้องถามกลับคุณอยากได้รถที่เคยล้มมาแล้วหรือเปล่า คำตอบก็ต้องบอกว่า "ไม่เอา" แน่นอน ที่นี่เรามาดูรถตลาดกันบ้าง รถตลาดก็คือรถที่ผลิตเพื่อขาย(ยังไม่นับรถรุ่น Limited) สำหรับ SF จะสามารถแบ่งให้สามารถจดจำได้ง่ายๆคือ เวอร์ชั่นแรก - รุ่นแรกสุด ไมล์ 2 ลูก ครีบไม่เต็มเสื้อเครื่อง เวอร์ชั่น R - รุ่นถัดมา เป็นไมล์ 3 ลูก เวอรชั่น S - ไมล์ 3 ลูก ครีบเต็ม ท้ายแหลม คาร์บูไฟฟ้า เวอร์ชั่น S Spec 1 - ยังไม่เคยเห็นตัวเป็นๆ เวอร์ชั่น S Spec 2 - ยังไม่เคยเห็นตัวเป็นๆ เวอร์ชั่น S Spec 3 – ยังไม่เคยเห็นตัวเป็นๆ ใจ เย็นๆนะครับไม่ต้องรีบร้อนซื้อ กำเงินในมือแล้วค่อยๆศึกษาข้อมูลไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นข้อดีข้อด้อยของ SF มากขึ้นเรื่อยๆ อย่าเดินมาตายทับตายซ้อนบนความผิดพลาดเก่าๆแบบผมเลยครับ ข้อดี ก็ อย่างที่ทราบๆกันดีอยู่แล้วว่ามันขี่ง่าย นั่งสบาย ไม่กินน้ำมันมาก บำรุงรักษาง่าย อะไหล่แยะ เครื่องยนต์ทนทาน เหมาะสำหรับใช้งานในเมืองทั่วๆไป เหมาะสำหรับขี่เที่ยวระยะทางระดับกลาง(ไม่เกิน 400-500 กิโลเมตร)ที่ความเร็วไม่สูงมาก(ไม่เกิน 150 Km/Hr) ข้อเสียของมันก็มีไม่ใช่น้อยทีเดียว 1. อย่างเรื่องของแผ่นชาร์จของ Honda ที่มันชอบเจ๊งบ่อย แถมพาลทำให้แบตเตอรี่พังไปด้วย 2. รถเวอร์ชั่นที่เป็นไมล์ 3 ลูก ถ้าล้มถ้วยไมล์มักจะแตกอยู่เรื่อย ราคาถ้วยไมล์และไส้ในก็หายากและแพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน 3. เอาไว้ขี่ทางไกลที่ความเร็วสูงไม่ค่อยดีนัก ถ้าเกินกว่า 150 Km/Hr จะเริ่มรู้สึกว่าโดนลมปะทะมากกว่าปกติและรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการขับขี่ 4.เฟรมรถอ่อนไปหน่อย ชนหนักมาแล้วเสียศูนย์ เซ็งจริงๆ เราต้องแยกประเด็นก่อนว่าเราจะเอารถที่ไหน อย่าง แรก การที่จะไปจับรถโกดังมันก็เหมือนกับเล่นไฮโลน่ะครับ มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงอยู่เหมือนกัน เนื่องจากรถที่อยู่ในโกดังเป็นรถที่ขายตามสภาพที่เห็น ถ้าดูของเก่งๆก็อาจได้รถที่ไม่ต้องทำมากมาขี่ แต่ถ้าอับโชคเจอรถเน่าในก็แย่หน่อยประเภทข้างนอกสุกใสข้างในเน่าหนอน ที่แน่ๆคือถ้าซื้อรถโกดังมาก็ยังต้องเก็บงานเองอีกพอสมควร แต่ข้อดีของรถโกดังก็มีอยู่เหมือนกัน ด้วยความสดใหม่ของรถก็เป็นจุดที่ดึงดูดลูกค้าไม่ใช่น้อยเช่นกัน สำหรับการซื้อรถปี 98 ถ้าเป็นผม สิ่งที่ผมจะพิจารณาเป็นลำดับๆคือ 1. ทะเบียน - ไม่มีก็โดนซิวสิ 2. ไม่เคยบึ้ม - ถ้ารถล้มหนักมามักเสียศูนย์ 3. สภาพและความสดใหม่ของเครื่องยนต์ - แกนหลักของรถก็คือเฟรมและเครื่อง เรื่องยาง โซ่ สเตอร์ กรองอากาศ เรื่องขี้ประติ๋ว 4. สีเดิมหรือเปล่า - สีเดิมๆจะเป็นสีที่ดีที่สุด 5. ของแต่ง - เรื่องเล็ก ซื้อใส่เองได้การ maintenance หลักๆของ Super Four เปลี่ยน ไส้กรองอากาศ + หัวเทียน ทุกหมื่นกิโล (ตรวจเช็ค ที่5000กิโล) หล่อลื่นโซ่ทุก500กิโล พร้อมตรวจความตึง-หย่อนของโซ่ และสภาพของฟันสเตอร์ด้วย เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก 3500-5000กิโล แล้วแต่สภาพการใช้งาน (ควรเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องทุกครั้งด้วย) เปลี่ยนถ่ายน้ำมันช็อคอัพ ปีละครั้ง ตรวจเช็คลูกปืนคอ + ลูกปืนล้อ หลังหน้าฝนทุกครั้ง เช็คไฟชาร์จเดือนละครั้ง และ ถอดแบตเตอร์รี่มาชาร์จ เดือนละครั้ง ไม่ว่าจะใช้รถหรือไม่ได้ใช้ น้ำยาหล่อเย็น เปลี่ยนปีละครั้ง ตรวจเช็คลมยางหน้า-หลัง อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง (หน้า 29ปอนด์ หลัง33ปอนด์ และเพิ่มเป็น36ปอนด์ เมื่อมีคนซ้อน) ปล. รถทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ถ้าจะให้ใช้นาน ไม่ต้องซ่อมบ่อย ก็ต้องหมั่นดูแลรักษาครับ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนไส้กรองอากาศ เช็คเครื่องเมื่อได้ระยะทาง ขับขี่ไม่ลากรอบมาก ถ้าปฏิบัติประมาณนี้ รถอะไรก็ใช้ทนครับ ขณะที่เรา ขี่รถอยู่เราจะรู้ได้ไงครับว่า ไฟชาร์จของเราเริ่มมีปํญหาเช่นมันไม่ชาร์จแล้ว มีเทคนิคอย่างไร อากาศบ้านเรามันร้อนมาก ควรป้องกันก่อน ทำได้หลายวิธี เช่น ต่อแผ่นระบายความร้อนเพิ่ม, ย้ายจุดวางแผ่นชาร์จ, ติดตั้งพัดลมดูดระบายความร้อน ฯลฯ แบตเตอรี่ก็มีผลด้วย ถ้าสภาพใกล้หมดอายุก็ทำให้ชาร์จไฟไม่เข้า แผ่นชาร์จก็จะทำงานหนัก รถผมจะติดตั้งพัดลมช่วย แผ่นชาร์จจะไม่ค่อยร้อนแล้ว แล้วผมก็กำลังจะติดแบตเตอรี่เซ็นเซอร์ด้วย อีกวิธีที่แก้ไขง่าย ๆครับ แต่เสียตังค์เยอะหน่อย คือ ต้องเปลี่ยนแผ่นชาร์จ หรือตัว Regulator/Rectifier ครับ ซึ่งเจ้าตัวนี้จะเป็นตัวแปลงไฟจาก AC มาเป็น DC และจะตัดไฟที่จ่ายเข้ามาเหลือเพียง 14-14.5 โวลท์ (กรณีฟิลด์คอยล์ สุขภาพสมบูรณ์, แบตเตอรี่ไฟเต็ม และ แผ่นชาร์จใหม่ ) อาการไฟจ่ายไม่พอ (หรือว่าไฟไม่ชาร์จ) ก็มีสองแบบอีก แบบแรกคือ ชุดฟิลด์คอยล์ หรือมัดข้าวต้ม เริ่มมีอาการขดลวดไหม้บางจุด วิธีเช็คง่าย ๆก็แค่ ถอดปลั๊กที่เสียบกับแผ่นชาร์จออกมา แล้วก็เอามิเตอร์วัดไฟมาจิ้มที่สายสีเหลืองทั้งสามเส้น (เป็นไฟแบบAC) แล้ววัดดูทีละคู่ เช่น 1-2 , 1-3 , 2-3 ทั้งสามขั้วนี้ค่าความต้านทานที่วัดได้ควรจะเท่ากัน แบบที่สองคือแผ่นชาร์จเจ๊ง คือ ไม่สามารถตัดไฟมาชาร์จแบตเตอร์รี่ได้ แต่ส่วนใหญ่ที่เจอ สำหรับเอสเอฟ จะเป็นกรณีที่สองครับ คือแผ่นชาร์จเจ๊ง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ 1 เนี่ย คงต้องถอดฟิลด์คอยล์เอามาพันขดลวดใหม่ในเมืองไทยอ่ะครับ เพราะว่าถ้าจะสั่งชุดฟิลด์คอยล์ใหม่เนี่ย ประมาณ หมื่นต้น ๆครับ อาการไฟจ่ายไม่พอ (หรือว่าไฟไม่ชาร์จ) ก็มีสองแบบอีก แบบแรกคือ ชุดฟิลด์คอยล์ หรือมัดข้าวต้ม เริ่มมีอาการขดลวดไหม้บางจุด วิธีเช็คง่าย ๆก็แค่ ถอดปลั๊กที่เสียบกับแผ่นชาร์จออกมา แล้วก็เอามิเตอร์วัดไฟมาจิ้มที่สายสีเหลืองทั้งสามเส้น (เป็นไฟแบบAC) แล้ววัดดูทีละคู่ เช่น 1-2 , 1-3 , 2-3 ทั้งสามขั้วนี้ค่าความต้านทานที่วัดได้ควรจะเท่ากัน แบบที่สองคือแผ่นชาร์จเจ๊ง คือ ไม่สามารถตัดไฟมาชาร์จแบตเตอร์รี่ได้ แต่ส่วนใหญ่ที่เจอ สำหรับเอสเอฟ จะเป็นกรณีที่สองครับ คือแผ่นชาร์จเจ๊ง แต่ถ้าเป็นกรณีที่ 1 เนี่ย คงต้องถอดฟิลด์คอยล์เอามาพันขดลวดใหม่ในเมืองไทยอ่ะครับ เพราะว่าถ้าจะสั่งชุดฟิลด์คอยล์ใหม่เนี่ย ประมาณ หมื่นต้น ๆครับ เพิ่มเติม น้ำมัน เครื่องควรเลือกที่มียี่ห้อตั้งแต่ ชนิดมัลติเกรด เซมิ-ซินเทติก ไปจนถึงประเภทมัลติเกรด ฟูลลี่-ซินเทติก เบอร์ที่เหมาะสมถ้าเป็นซูซูกิพวกสปอร์ต คัสตอม ทัวริ่ง ทุกตัวโดยเฉพาะพวกที่ใช้ออยล์คูลเลอร์แนะนำให้ใช้เบอร์ 10 W 40 หรือ 15 W 40 ถ้าใช้งานหนักความร้อนขึ้นสูงบ่อย ก็ใช้ 20 W 50 หรือเบอร์กว้างสุด 5 W 60 ไส้กรองอากาศ ถ้าใช้ของแท้ กรองอากาศทุกตัวที่เป็นแบบกระดาาจะมีอายุการใช้งานในบ้านเราที่ 10,000 กม. โดยในช่วงอายุการใช้งานควรถอดออกมาทำการเป่าวด้วยลมประมาณ 5,000 กม. ในรถบางรุ่นที่ไส้กรองเป็นแบบฟองน้ำ-สักหลาดให้เปลี่ยนใหม่อย่างเดียว สภาพยางและลมยาง ควรตรวจเช็กทุกวัน ตามค่าระบุที่ติดมากับรถ ค่าแมนทาแนนซ์ประจำรุ่น เช่น ความจุน้ำมันเครื่อง ชนิดหัวเทียน เบอร์โซ่ ความจุและชนิดน้ำมันช็อคอัพ รวมถึงระยะบ้างวาล์ว ดูได้จากข้อมูลทางเทคนิคที่ระบุ ถ้าไม่ทราบสามารถตรวจสอบหรือขอคำแนะนำจากร้านที่รับซ๋อมรถหรือร้านที่คุณ ซื้อโดยตรง… 1. SF เวอร์ชั่นรถนักเรียน - เหมือนกับเวอร์ชั่นปกติทุกประการ ต่างกันที่จุดยึดเครื่องยนต์กับเฟรมรถด้านหน้า โดยปกติ SF จะมีจุดยึดเครื่องยนต์ด้านหน้ารถอยู่ 4 จุด ตามแนวยาวของเฟรมหน้า ซึ่งรถเวอร์ชั่นนักเรียนจะมีรูน๊อตอีกข้างละ 1 รูใกล้ๆกับหม้อน้ำของรถเพิ่มขึ้นมา รูที่ว่านี้แหละเป็นรูสำหรับยึดเหล็กกันล้มรูปปีกผีเสื้อ ข้อมูลเพิ่มเติมวิธีดูรถนักเรียน(ขอบคุณพี่เติ้ลที่ให้ข้อมูลนี้เป็นความรู้ครับ) รถ V-TEC นักเรียน รูปร่างภายนอกจะเป็นเหมือนเทค 1 แต่มีข้อแตกต่างอยู่หลายจุด 1. ไมล์รถเป็น 2 ลูกเหมือนปี 93 2. ไฟหน้าฝาครอบเป็นพลาสติกสีดำ ไฟดวงเล็กกว่าทั่วไป 3. หูยึดไฟหน้าเป็นแบบเชื่อมติดกับโครงหน้า ไม่มีหูช้าง เป็นสีดำ 4. ระบบไฟจะเป็นของมันเองสายไฟจะเยอะมาก สามารถเปิด - ปิดไฟหน้าได้ ตอนสตาร์ทรถจะต้องปิดไฟหน้าก่อน ชุดสายไฟด้านหลังจะมีเยอะมาก 5. เทคนักเรียนจะไม่มีระบบวีเทคติดมาให้ แต่สามารถวิ่งได้ 180 เหมือนกัน (ต้องเอาแผ่นปลดล๊อคความเร็วออกก่อนนะครับ) 6. แผงคอบน - ล่าง และชุดโช้คหน้าเป็นของปี 93 7. ปั้มหน้าและหลังเป็นของนิสชินปี 93 8. ฝาครอบเครื่องด้านขวาเป็นของปี 93 9. โช้คหลังเป็นของปี 93 10. คาร์บูเป็นคาร์บูไฟฟ้าปี 95 บางครั้งก็เป็นคาร์บูธรรมดาติดมา 11. ล้อหน้า - หลังเป็นของปี 93 12. สวิงอาร์มเป็นของปี 93 13. ด้านท้ายตรงบังโคลนหลังแถวโช้คหลัง จะมือจับเป็นแท่ง ทั้งซ้ายและขาว เอาไว้ติดกันล้ม พอมาถึงบ้างเราก็ตัดออกจะเห็นแต่เป็นมือจับ 14. โครงหน้าจะมีจุดยึดเอาไว้ติดกันล้ม 2 จุดตรงแถวหม้อน้ำกับด้านใต้เครื่อง 15. หม้อน้ำเป็นของปี 93 ไม่มีแผ่นอลูมิเนียมด้านข้างทั้งซ้ายและขวา 2. ส่วนเรื่องครีบระบายความร้อนที่เครื่องยนต์ เราต้องมองแบ่งเครื่องยนต์ออกเป็น 4 ส่วนจากบนลงล่างดังนี้ครับ 2.1 ฝาวาวล์ เป็นฝาครอบอยู่ด้านบนสุดของเครื่องยนต์ 2.2 ฝาเสื้อสูบ เป็นที่อยู่และติดตั้งวาวล์และชุดแคมชาร์ป จะมีครีบระบายความร้อนอยู่ในทุกเวอร์ชั่น ยกเว้น CB1300SF 2.3 เสื้อสูบ ตรงนี้แหละครับที่เป็นจุดสังเกตุของครีบระบายความร้อนที่สงสัย ถ้าในรุ่นเก่าๆ 92-93 จะไม่มีครีบ มันจะโล้นๆ 2.4 ห้องเกียร์และเพลาข้อเหวี่ยง ไม่มีอะไรเป็นประเด็น